ทำความรู้จักกับผิวหนังและองค์ประกอบที่สำคัญ ก่อนจะที่เริ่มดูแลผิว
สิ่งสำคัญอย่างแรกก่อนที่เราจะเริ่มดูแลผิวหนังให้ถูกวิธี
ควรจะต้องทำความรู้จักกับผิวหนังกันก่อน เพื่อที่จะดูแลได้อย่างตรงจุดและถูกวิธี เช่นเดียวกับเวลาจะเอาใจแฟนค่ะ อยากจะเอาใจให้ได้ผลก็ต้องรู้จักและรู้ใจเขาก่อนใช่ไหมค่ะ ฮ่าฮ่า ในส่วนนี้ ปร๋อจึงจะขออธิบายชั้นของผิวหนังและองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อให้ทุกคนสามารถนำความรู้ส่วนนี้ไปใช้เป็นพื้นฐานในการดูแลผิวหนัง และเป็นพื้นฐานในการอ่านทำความเข้าใจในหัวข้อต่อๆไป ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการทำความเข้าใจของผู้อ่านที่มีพื้นฐานความรู้ที่ แตกต่างกัน ปร๋อก็จะพยายามเขียนให้กระชับ เข้าใจง่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาทางวิชาการที่มากเกินไปค่ะ ^^
ชั้นของผิวหนัง (Skin Layers)
ชั้นของผิวหนัง สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชั้นหลักๆ ได้ แก่ ชั้นหนังกำพร้า (epidermis), ชั้นหนังแท้ (dermis) และชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous adipose tissue)
รูปแสดงชั้นผิวหนังกำพร้าและหนังแท้ ดัดแปลงจาก ปิติ จันทร์วรโชติ และ Zvulunov
1 ชั้นหนังกำพร้า (ผิวชั้นนอก) เป็นชั้นที่อยู่ด้านนอกสุดของผิวหนัง ซึ่งจะสัมผัสโดยตรงกับสิ่งแวดล้อม โดยจะมีความหนาแตกต่างกันออกไปในแต่ละส่วนของร่างกาย เช่น ผิวบริเวณเปลือกตาจะมีความหนาของชั้นหนังกำพร้าประมาณ 0.06 นาโนเมตร น้อยกว่าผิวบริเวณส้นเท้าที่มีความหนาประมาณ 0.8 มิลลิเมตร เราสามารถชั้นหนังกำพร้าออกเป็นชั้นย่อยๆได้ทั้งหมด 4 ชั้น ได้แก่
- Stratum corneum
- Stratum granulosum
- Stratum spinosum
- Stratum basal
ชั้น Stratum corneum จะเป็นชั้นที่อยู่ด้านนอกสุด ส่วนชั้น Stratum basal เป็นชั้นในสุดติดกับชั้นหนังแท้ โดยจะมี เยื่อ basement membrain กั้นระหว่างชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้
เซลล์เคราติโนซัยต์ (keratinocytes) เป็นเซลล์ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในชั้นหนังกำพร้า โดยเซลล์เคราติโนซัยต์ จะถูกสร้างขึ้นในชั้น Stratum basal จากนั้นเซลล์เคราติโนซัยต์ จะเปลี่ยนรูปร่างและเคลื่อนที่ไปสู่ผิวหนังด้านบนเรื่อยๆ จนถึงชั้น Stratum corneum ซึ่งจะกลายเป็นเซลล์แบนๆ ไม่มีชีวิต ไม่มีนิวเคลียสและไซโทพลาสซึมอยู่ภายในเซลล์ มีโปรตีนคีราติน เป็นองค์ประกอบหลักของเซลล์ เรียกเซลล์นี้ว่า เซลล์คอร์นิโอซัยต์ (corneocytes) จากนั้น เซลล์คอร์นิโอซัยต์ จะค่อยๆลอกออกและหลุดไป … อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว งง ไหมค่ะ? 555 สรุปก็คือ เซลล์คอร์นิโอซัยต์ คือเซลล์เคราติโนซัยต์ที่ไม่มีชีวิตแล้วนั้นเองค่ะ
ในวัยหนุ่มสาวที่ผิวมีความสมบูรณ์ เซลล์เคราติโนซัยต์จะใช้เวลาในการเคลื่อนที่จากชั้น Stratum basal ถึง Stratum corneum ประมาณ 14 วัน และใช้เวลาอีกประมาณ 14 วัน รวมแล้วประมาณ 28 วัน ตั้งแต่เริ่มสร้างเซลล์จนถึงเซลล์ผลัดออกไป แต่ผิวคนแก่ (elderly skin) จะใช้เวลาในการผลัดเซลล์ผิว 40-60 วัน ซึ่งมากกว่าผิววัยหนุ่มสาว การผลัดเซลล์ผิวที่ช้าลงนี้ส่งผลเสียต่อการทำงานของชั้นปกป้องผิว (skin barrier) โดยทำให้ผิวหนังบางลง, ผิวมีความโปร่งแสง, ผิวหยาบ, ผิวเป็นขรุย และผิวแห้ง
ชั้นปกป้องผิวนี้ จะหมายถึง ผิวชั้นนอกสุด ที่ประกอบไปด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ เซลล์ผิวที่ตายและไขมันที่เชื่อมระหว่างเซลล์ผิว (skin fat) ให้ยึดติดกัน เปรียบเหมือนกับลักษณะของอิฐบล็อคที่ถูกเชื่อมติดกันด้วยปูน ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนเกราะป้องกันและกักเก็บความชุ่มชื้นให้กับผิวเป็นชั้นแรกให้แก่ผิวหนังชั้นต่างๆที่อยู่ถัดลงมา ดังนั้น หากชั้นปกป้องผิวนี้มีความสมบูรณ์ ก็จะทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น และมีความสามารถป้องกันเชื้อโรคและสารเคมีต่างๆได้ดี
ทั้งนี้ skin fat นี้ ประกอบไปด้วยสาร ceramides, cholesterol, free fatty acids, cholesterol sulfate – cholesterol esters ในสัดส่วนของน้ำหนักโดยประมาณ 50 : 25 :12 : 11 โดยสาร ceramide 1 เป็นสารที่มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยทำให้ชั้นปกป้องผิวแข็งแรง
รูปแสดงชั้นผิวหนังชั้นนอกที่มีลักษณะคล้ายอิฐบล็อคที่ถูกเชื่อมติดกันด้วยปูน จึงทำหน้าที่เป็นเหมือนเกราะป้องกันให้กับผิว
1. ชั้นหนังแท้ (ผิวชั้นใน) ผิวหนังชั้นนี้มีความหนามากกว่าผิวชั้นหนังกำพร้า โดยมีความหนาประมาณ 2-5 มิลลิเมตร มีเส้นใยคอลลาเจน และเส้นใยอีลาสติน เป็นองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการคงรูปร่างและความยืดหยุ่นของผิวหนัง เส้นใยทั้งสองถูกสร้างขึ้นโดยเซลล์ไฟโบรบลาส (Fibroblast) ซึ่งเป็นเซลล์ที่กระจายตัว อยู่ในชั้นหนังแท้ เมื่ออายุเพิ่มขึ้นปริมาณเส้นใยคอลลาเจน และเส้นใยอีลาสตินจะลดลง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดริ้วรอยและความยืดหยุ่น
2. ชั้นใต้ผิวหนัง เป็นชั้นที่อยู่ลึกสุดของชั้นผิวหนัง ช่วยทำให้ผิวหนังต่อเชื่อมกับอวัยวะส่วนล่าง เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก เป็นต้น เป็นแหล่งเก็บสะสมไขมันเพื่อใช้ในภาวะขาดพลังงานและควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
เป็นอย่างไรบ้างค้า อ่านมาถึงตรงนี้แล้วพอเห็นภาพเข้าใจโครงสร้างผิวกันไหม บางทีก็ตัดสินใจไม่ถูก หากเขียนสั้นเกินไปก็กลัวผู้อ่านจะไม่ได้ความรู้ หากเขียนยาวเกินก็กลัวผู้อ่านเบื่อกันค่ะ ^^’ เอาเป็นว่าถ้าอ่านแล้วา งง ก็ไม่ต้องจำอะไรมาก เพราะปร๋อสรุปหน้าที่สำคัญของผิวแต่ละชั้นมาเป็นแผนภาพตามรูปด้านล่างนี้เลยค่ะ ^^
แผนภาพแสดงบทบาทที่สำคัญของผิวหนังแต่ละชั้น
เมื่อเรารู้จักบทบาทหน้าที่ของผิวแต่ละชั้นแล้ว หากมีปัญหาผิวเกิดขึ้น เราก็จะพอวิเคราะห์ได้แล้วนะคะว่าควรจะเน้นการบำรุงไปที่ผิวชั้นไหนดี เพื่อที่จะแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดค่ะ^^ อ่อ…แต่ขอฝากเอาไว้นิดนึงค่ะว่า การทาครีมเพื่อให้ส่วนผสมลงไปถึงผิวชั้นในนั้น เป็นเรื่องค่อนข้างยากและมีข้อจำกัดมากๆ เพราะผิวชั้นนอกยิ่งแข็งแรงเท่าไร ก็จะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันการซึมผ่านของสารต่างๆได้ดีมากขึ้น ที่ผ่านมาเลยมีการคิดค้นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีคุณสมบัติ นาโนอิมัลชั่น หรือไมโครอิมัลชั่นขึ้นมาเพื่อนำส่งสารสำคัญต่างๆให้ซึบซาบสู่ผิวชั้นใน แต่การใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีข้อควรระวังมากๆเรื่องของการระคายเคืองผิว ซึ่งโดยส่วนตัวปร๋อไม่แนะนำสำหรับผู้ที่มีผิวบอบบางแพ้ง่ายค่ะ ดังนั้น เราในฐานะของผู้บริโภคก่อนที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ใดๆ จึงควรศึกษาทั้งผลดีและผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อที่จะได้ลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาผิวต่างๆตามมาในอนาคตค่ะ ^^
เอกสารอ้างอิง:
- วราภรณ์ สุวกูล. เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน : การดูแลรักษาผิวหนัง. พิมพ์ครั้งที่8. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559.
- ปิติ จันทร์วรโชติ. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผิวหนังและเส้นผม. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร : นานะภงค์, 2555.
- Benson, H.A. and A.C. Watkinson, Topical and transdermal drug delivery: Principles and practice. 2012: John Wiley & Sons.
- McCullough, J.L. and K.M. Kelly, Prevention and Treatment of Skin Aging. Annals of the New York Academy of Sciences, 2006. 1067(1): p. 323-331.
- Menon, G.K., New insights into skin structure: scratching the surface. Advanced Drug Delivery Reviews, 2002. 54, Supplement: p. S3-S17.
- Zvulunov, A., Acne, in Handbook of Cosmetic Skin Care. 2009, CRC Press. p. 58-76.
🔹TAYA ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพื่อแข็งแรงไม่บอบบางแพ้ง่าย เน้นการสร้างผิวแข็งแรงทั้งผิวชั้นในและชั้นนอก ด้วยการใส่สารสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการสร้างองค์ประกอบผิว และป้องกันความเสื่อมผิวที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยม “รางวัลเหรียญทอง” ในระดับนานาชาติ
🔹 ทุกผลิตภัณฑ์ของ TAYA ไม่มี แอลกอฮอลล์ สี น้ำหอม ซิลิโคน พาราเบน ไม่มีสารต้องห้ามสำหรับ “เด็ก” หรือ “สตรีมีครรภ์” ผ่านการทดสอบทางคลินิคโดยแพทย์ผิวหนังแล้วว่าอ่อนโยน แม้ผิวบอบบางแพ้ง่าย มีทั้งหมด 3 อย่างค่ะ
🔹 TAYA Clarifying Cleanser โฟมทำความสะอาด ลดโอกาสการเกิดสิวได้ทั้งผิวหน้าและผิวกาย เราใช้สารทำความสะอาด จากกรดอะมิโนที่ได้จากธรรมชาติ จึงอ่อนโยนและทำความสะอาดได้เร็วมากๆ พร้อมทั้งยังมีสารที่ช่วยปรับสมดุลความชุ่มชื้นผิว จึงไม่ทำให้ผิวแห้งหลังล้างหน้า 150ml 920บาท
🔹 TAYA Intensive Anti-Aging Serum เซรั่มที่จะช่วยชะลอและฟื้นฟูความแก่ผิวแบบองค์รวม โดยเน้นใส่ส่วนผสมกระตุ้นการสร้างองค์ประกอบผิวชั้นใน ช่วยแก้ปัญหา ริ้วรอย/ ฝ้า-กระ/ รอยดำ-รอยแดง/ สิวผด-สิวอักเสบ/ รูขุมขนกว้าง/ ผิวขาดความเรียบเนียนสดใส/ ป้องกันแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่เราต้องเผชิญกันทุกวัน อุดมไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิดโดยเฉพาะ “ฟูลเลอรีน” จากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ “เหนือกว่า” แอสต้าแซนทิน และ “สูงกว่า” วิตามินซี 250 เท่า ขนาด 40 ml ราคา 2,750 บาท
🔹 TAYA Intensive Moisturizing Cream มอยส์เจอไรเซอร์ที่เน้นใส่ส่วนผสมที่ช่วยสมานผิวและเพิ่มความแข็งแรงของผิวชั้นนอก โดดเด่นด้วยสาร Madecassoside และ Asiaticoside จากธรรมชาติ มีฤทธิ์เป็นที่ยอมรับในทางเภสัชกรรมในด้านสมานผิวและลดการอักเสบ โดย TAYA เลือกใช้เกรดที่มีความบริสุทธิ์และความเข้มข้นสูงมาใส่ นอกจากนี้มอยส์เจอไรเซอร์ยังเป็น Eyes Cream ในตัว ด้วยส่วนผสมที่ช่วยลดความเครียดผิว รอยบวมคล้ำและริ้วรอยใต้ตา ขนาด 40 ml ราคา 2,350 บาท.
“เพราะเทคโนโลยี ก้าวหน้าตลอดเวลา TAYA จึงไม่เคยหยุดพัฒนา”
“ TAYA เราคือตัวจริงด้านคุณภาพ “
📍สนใจสั่งซื้อสินค้า/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม